Thursday, October 3, 2019

5 อันดับสุดยอดเครื่องปั๊มนม Hospital Grade ระดับ World Class ที่ดีที่สุดในโลก

คุณแม่มือใหม่ที่กำลังหาซื้อเครื่องปั๊มนม อาจจะงงๆ ว่าเครื่องปั๊มนม Hospital Grade คืออะไร ทำไมยี่ห้อไหนๆ ก็บอกว่าของตัวเองเป็น Hospital Grade กันทั้งนั้น ตกลงมันมีมาตรฐานไหม

ก่อนอื่นต้องบอกว่า เครื่องปั๊มนมจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการใช้ แต่เนื่องจากประเทศไทยเราไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดที่เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานสำหรับเครื่องปั๊มนมจริงๆ มีแต่อย.ที่ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตนำเข้าเท่านั้น ทำให้ทุกบริษัทต่างก็สามารถอ้างว่าเครื่องของตัวเองนั้นเป็นเกรดโรงพยาบาลได้ตามใจชอบ

แต่จริงๆ แล้ว เครื่องปั๊มนมสำหรับใช้ในโรงพยาบาลในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น มีมาตรฐานและข้อกำหนดสำคัญ (The Regulation of Medical Device) คือ  แรงดูดต้องไม่เกิน 250 mmHg หรือ 330 mbar เพราะถ้าเกินกว่านั้น จะทำให้ร่างกายบาดเจ็บได้ และต้องมีกรวยปั๊มที่เป็นระบบปิดเพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรกผ่านเข้าสู่น้ำนม นอกจากนี้เครื่องปั๊มนมที่ได้มาตรฐานนั้น ยังต้องผลิตโดยผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ โดยมีองค์กรมาตรฐานสากลอย่าง CE หรือ TUV SUD ให้การรับรอง

ในขณะที่เครื่องปั๊มนมส่วนใหญ่ที่เห็นทั่วไปตามท้องตลาดบ้านเราในเวลานี้นั้น ส่วนใหญ่จะผลิตโดยโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศจีน แล้วก็ใช้การทำการตลาดสร้างแบรนด์ให้ดูน่าเชื่อถือ ทั้งๆ ที่คุณภาพจริงๆ นั้นยังไม่ได้มาตรฐาน

เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า 5 อันดับสุดยอดเครื่องปั๊มนม Hospital Grade ระดับ World Class ที่ทั่วโลกยอมรับกันนั้นมีรุ่นไหนบ้าง

อันดับ 5 Medela Lactina (เมดีล่า แลคติน่า)

รุ่นนี้เป็นรุ่นเก่าแก่ที่ยังพอเห็นอยู่บ้างในโรงพยาบาลใหญ่ๆ นะคะ ผลิตโดยบริษัท Medela AG จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี 1988 ก็ 30 ปีมาแล้วนะคะ  แรงดูด 100-240 mmHg (75-320 mbar) รอบดูด 40-60 ครั้ง/นาที แต่ด้วยที่ใช้ระบบการทำงานแบบกระบอกสูบ (Piston) ทำให้การปั๊มค่อนข้างนุ่มนวล เสียงเงียบ แล้วก็ทนทานมากๆ ค่ะ ใช้กันเป็น 10 ปีสบายๆ น้ำหนัก 2.4 kg ราคาอยู่ที่ประมาณ 50,000 บาทค่ะ


อันดับ 4 Ameda Elite (อมีด้า เอลีท)

รุ่นนี้ผลิตโดยบริษัท Ameda ซึ่งมีต้นกำเนิดมานานกว่า 70 ปีโดยวิศวกรชาวสวีเดน สำหรับรุ่น Elite เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในปี 1993 ใช้ระบบการทำงานแบบกระกอกสูบ (Piston) เช่นเดียวกัน แรงดูด 0-250 mmHg (0-330 mbar) น้ำหนัก 3 kg ราคาประมาณ 73,000 บาท



อันดับ 3 Mamivac Sensitive C (มามิแวค เซนสิทีฟ ซี)

รุ่นนี้เป็นของเยอรมันค่ะ ผลิตโดยบริษัท  KaWeCo GmbH ที่มีประวัติยาวนานกว่า 40 ปี เช่นกันค่ะ สำหรับ Sensitive C นี้ผลิตจำหน่ายครั้งแรกในปี 2009 ระบบการทำงานเป็นแบบ Diaphragm Pump โหมดกระตุ้น แรงดูด 45-150 mmHg (60-200 mbar) รอบดูดคงที่ 100 ครั้ง/นาที ส่วนโหมดปั๊ม แรงดูด 45-250 mmHg (30-330 mbar) รอบดูด 20-48 ครั้ง/นาที น้ำหนักเบาที่สุด 0.79 kg ราคา 30,000 บาท


อันดับ 2 Medela Symphony

รุ่นนี้เป็นของ Medela เช่นกันค่ะ เป็นรุ่น upgrade มาจาก Lactina  เครื่องปั๊มนมรูปทรงคล้ายๆ หม้อหุงข้าวรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่เห็นบ่อยในโรงพยาบาลใหญ่ๆ เริ่มมีหน้าจอ LED แล้วค่ะ ระบบการทำงานเป็นแบบ Diaphragm Pump โหมดกระตุ้น แรงดูด 48-195 mmHg (65-260 mbar) รอบดูดคงที่ 120 ครั้ง/นาที ส่วนโหมดปั๊ม แรงดูด 48-250 mmHg (65-330 mbar) รอบดูด 54-78 ครั้ง/นาที น้ำหนัก 2.9 kg ราคา 85,000 บาท

อันดับ 1 Ardo Carum 

รุ่นนี้ผลิตโดย Ardo Medical AG จากสวิตเซอร์แลนด์ บ้านเกิดเดียวกับ Medela เลยค่ะ Carum เลือกใช้ระบบการทำงานของกระบอกสูบเพื่อความนุ่มนวล สาเหตุที่ Carum เป็นสุดยอดนวัตกรรมใหม่ของเครื่องปั๊มนมก็เพราะ Carum สามารถปรับแรงดูดและรอบดูดได้อย่างอิสระ ทำให้สามารถเลียนแบบการดูดของทารกได้อย่างแท้จริง รวมทั้งยังมี Sensitive Programme ที่ให้แรงดูดที่นุ่มนวลและเบามาก แม้กระทั่งเต้านมที่ได้รับบาดเจ็บมาก่อนก็สามารถปั๊มได้ โดยไม่ทำให้เจ็บ เป็นเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้น Colostrum โดยเฉพาะ

และยังมีฟีเจอร์ DropZone ที่เป็นช่วงที่แรงดูดจะหยุดชั่วขณะอย่างนุ่มนวลขณะที่แรงดูดถึงจุดที่ตั้งไว้ ซึ่งจะช่วยให้การไหลของน้ำนมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รุ่นนี้เรียกว่าเป็น โรลสรอยซ์ของเครื่องปั๊มนมก็ว่าได้ค่ะ
โหมดกระตุ้น แรงดูด 23-112 mmHg (30-150 mbar) รอบดูด 72-120 ครั้ง/นาที ส่วนโหมดปั๊ม แรงดูด 23-250 mmHg (30-330 mbar) รอบดูด 30-60 ครั้ง/นาที น้ำหนัก 3 kg ราคา 120,000 บาท



สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์

Creative Commons License
บทความต่าง ๆ ในบล็อก nommae.blogspot.com โดย nitbert อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ nommae.blogspot.com.