Q: สอบถามค่ะ น้อง 9 วัน ไม่ดูดเต้า ถ้าเราปั๊มนมอย่างเดียวจะแห้งไหม น้องไม่ยอมดูดค่ะ ทำทุกทางแล้ว
A: ถ้าปั๊มอย่างมีวินัย ไม่หยุดปั๊ม นมไม่แห้งค่ะ แต่การปั๊มนมอย่างเดียว โดยไม่ให้ลูกดูดเต้านั้น สิ่งที่เราจะสูญเสียไปมีดังนี้ค่ะ
1. ร่างกายแม่ไม่มีโอกาสสื่อสารกับร่างกายลูก
คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าน้ำลายของลูกนั้นสามารถบอกกับเต้าแม่ได้ว่า ขณะนี้ลูกต้องการอะไร ถ้าลูกมีเชื้อโรค เต้าแม่ก็จะตอบสนองด้วยการผลิตน้ำนมที่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นได้ แม่ที่ปั๊มนมใส่ขวดให้ลูกจะพลาดสิ่งนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
2. สูญเสียเวลาสำคัญหรือ golden time ที่จะเสริมสร้างพัฒนาการและสายใยรักที่ลึกซึ้งระหว่างแม่ลูก
การที่แม่กอดลูกไว้กับอกทุกวันๆ ละหลายๆ ครั้งนานเป็นปี จะช่วยสร้างความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจให้กับลูก ช่วยเสริมสร้างประสาทสัมผัสทั้ง หู ตา จมูก ช่วยเพิ่มความฉลาดทั้งทางสติปัญญาและอารมณ์แก่ลูก
3. นมสดๆ จากเต้าแม่มีคุณค่าและตรงตามความต้องการของลูกมากที่สุด น้ำนมสำหรับเด็กแรกคลอด กับน้ำนมสำหรับเด็กหกเดือนหรือหนึ่งขวบนั้นแตกต่างกัน
4. อาหารที่ปรุงสดมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าอาหารแช่แข็ง นมแม่ก็เช่นเดียวกัน
5. หลังจาก 6 เดือนไปแล้ว ลูกไม่ได้ต้องการน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว ลูกต้องการอาหารปกติ ต้องการให้แม่เล่นด้วย อ่านหนังสือให้ฟัง พาไปนั่งรถเล่น ถ้าคุณแม่ต้องปั๊มนมวันละ 8 ครั้ง ก็จะสูญเสียเวลาที่จะใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ กับลูกไปอีกไม่น้อย
6. เวลากลางคืน ถ้าลูกดูดเต้า แม่ก็หลับได้ แต่คุณแม่นักปั๊มตัองลุกขึ้นมาปั๊ม ทำให้พักผ่อนได้น้อยกว่า คุณแม่นักปั๊มเหนื่อยกว่ามากๆๆๆๆๆ
7. ลูกดูดเต้า แม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ยาวนานกว่า และสบายกว่ามาก หลังขวบไปแล้วแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าไม่จำเป็นต้องปั๊มนมก็ได้ แต่ก็สามารถมีน้ำนมให้ลูกได้นานเท่าที่ลูกยังคงดูดเต้าอยู่ แต่คุณแม่นักปั๊มนั้น ถ้าหยุดปั๊ม สต็อคหมดเมื่อไหร่ ก็ต้องหยุดนมแม่เมื่อนั้น
ลูกเพิ่ง 9 วัน คุณแม่ยังมีโอกาสกลับตัวนะคะ คลีนิคนมแม่ช่วยได้ กูเกิลช่วยได้ มีหลายเทคนิคสำหรับลูกไม่ดูดเต้า ลองหาดูค่ะ
ตอนเด็กๆ เคยเล่นเกมจ้องตามั้ยคะ ใครกระพริบตาก่อนคนนั้นแพ้
แต่เกมดูดเต้าไม่เหมือนกันนะคะ
ถ้าลูกไม่ดูดเต้า แล้วแม่ยอมแพ้ก่อน เกมนี้แพ้ทั้งลูกและแม่
แต่ถ้าแม่ชนะ ทำให้ลูกดูดเต้าได้สำเร็จ เกมนี้ชนะทั้งแม่และลูกค่ะ
แล้วคุณแม่ล่ะคะ อยากแพ้หรือชนะ
1. ร่างกายแม่ไม่มีโอกาสสื่อสารกับร่างกายลูก
คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าน้ำลายของลูกนั้นสามารถบอกกับเต้าแม่ได้ว่า ขณะนี้ลูกต้องการอะไร ถ้าลูกมีเชื้อโรค เต้าแม่ก็จะตอบสนองด้วยการผลิตน้ำนมที่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นได้ แม่ที่ปั๊มนมใส่ขวดให้ลูกจะพลาดสิ่งนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
2. สูญเสียเวลาสำคัญหรือ golden time ที่จะเสริมสร้างพัฒนาการและสายใยรักที่ลึกซึ้งระหว่างแม่ลูก
การที่แม่กอดลูกไว้กับอกทุกวันๆ ละหลายๆ ครั้งนานเป็นปี จะช่วยสร้างความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจให้กับลูก ช่วยเสริมสร้างประสาทสัมผัสทั้ง หู ตา จมูก ช่วยเพิ่มความฉลาดทั้งทางสติปัญญาและอารมณ์แก่ลูก
3. นมสดๆ จากเต้าแม่มีคุณค่าและตรงตามความต้องการของลูกมากที่สุด น้ำนมสำหรับเด็กแรกคลอด กับน้ำนมสำหรับเด็กหกเดือนหรือหนึ่งขวบนั้นแตกต่างกัน
4. อาหารที่ปรุงสดมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าอาหารแช่แข็ง นมแม่ก็เช่นเดียวกัน
5. หลังจาก 6 เดือนไปแล้ว ลูกไม่ได้ต้องการน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว ลูกต้องการอาหารปกติ ต้องการให้แม่เล่นด้วย อ่านหนังสือให้ฟัง พาไปนั่งรถเล่น ถ้าคุณแม่ต้องปั๊มนมวันละ 8 ครั้ง ก็จะสูญเสียเวลาที่จะใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ กับลูกไปอีกไม่น้อย
6. เวลากลางคืน ถ้าลูกดูดเต้า แม่ก็หลับได้ แต่คุณแม่นักปั๊มตัองลุกขึ้นมาปั๊ม ทำให้พักผ่อนได้น้อยกว่า คุณแม่นักปั๊มเหนื่อยกว่ามากๆๆๆๆๆ
7. ลูกดูดเต้า แม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ยาวนานกว่า และสบายกว่ามาก หลังขวบไปแล้วแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าไม่จำเป็นต้องปั๊มนมก็ได้ แต่ก็สามารถมีน้ำนมให้ลูกได้นานเท่าที่ลูกยังคงดูดเต้าอยู่ แต่คุณแม่นักปั๊มนั้น ถ้าหยุดปั๊ม สต็อคหมดเมื่อไหร่ ก็ต้องหยุดนมแม่เมื่อนั้น
ลูกเพิ่ง 9 วัน คุณแม่ยังมีโอกาสกลับตัวนะคะ คลีนิคนมแม่ช่วยได้ กูเกิลช่วยได้ มีหลายเทคนิคสำหรับลูกไม่ดูดเต้า ลองหาดูค่ะ
ตอนเด็กๆ เคยเล่นเกมจ้องตามั้ยคะ ใครกระพริบตาก่อนคนนั้นแพ้
แต่เกมดูดเต้าไม่เหมือนกันนะคะ
ถ้าลูกไม่ดูดเต้า แล้วแม่ยอมแพ้ก่อน เกมนี้แพ้ทั้งลูกและแม่
แต่ถ้าแม่ชนะ ทำให้ลูกดูดเต้าได้สำเร็จ เกมนี้ชนะทั้งแม่และลูกค่ะ
แล้วคุณแม่ล่ะคะ อยากแพ้หรือชนะ
No comments:
Post a Comment