ประโยชน์หลักของน้ำนมแม่คือ สารอาหาร น้ำนมคนมีปริมาณกรดไขมัน แล็คโทส น้ำ กรดอะมิโน ที่เหมาะเจาะพอดีกับระบบการย่อยอาหาร พัฒนาการทางสมอง และการเจริญเติบโตของทารกที่เกิดจากมนุษย์
น้ำนมวัวมีโปรตีนที่ต่างจากโปรตีนในน้ำนมคน เป็นโปรตีนที่ดีสำหรับลูกวัว แต่ย่อยยากเกินไปสำหรับลูกคน ทารกที่กินนมขวดมักจะอ้วนกว่าทารกกินนมแม่ แต่สุขภาพไม่ดีเท่าทารกกินนมแม่
ทารกกินนมแม่ไม่สบายน้อยกว่า เพราะน้ำนมแม่ส่งผ่านภูมิต้านทานจากแม่สู่ลูก ประมาณ 80% ของเซลล์ในน้ำนมแม่คือ มาโครเฟจ (Macrophage) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสได้ เด็กที่กินนมแม่จึงได้รับการป้องกันจากโรคต่าง ๆ และร่างกายของแม่ยังสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีในสิ่งแวดล้อมได้ด้วย น้ำนมแม่จึงเป็นน้ำนมที่ปรับปรุงเป็นพิเศษให้สามารถต้านเชื้อโรคที่ทารกมีโอกาสเจอได้ด้วย
เด็กกินนมแม่จะมีจุลินทรีย์แล็คโตบาซิลลัสจำนวนมากอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่จะเป็นอันตรายต่อทารกได้
น้ำนมคนจากอกแม่ เป็นน้ำนมที่ปลอดเชื้อโดยอัตโนมัติและตลอดเวลา ไม่เคยมีสารปนเปื้อนจากมลภาวะในน้ำหรือขวดนมที่ล้างไม่สะอาด
น้ำนมแม่มีส่วนประกอบอย่างน้อย 100 ชนิดที่ไม่มีในนมผสม ไม่มีทารกคนไหนที่แพ้นมแม่ตัวเอง (ถึงแม้ทารกอาจจะมีปฏิกริยากับอาหารบางอย่างที่แม่กิน แต่ถ้างดอาหารเหล่า ก็จะแก้ปัญหาได้)
การดูดนมจากอกแม่ช่วยให้ขากรรไกรของทารกมีพัฒนาการที่ดี การดูดนมจากอกแม่ใช้กำลังมากกว่าการดูดนมจากขวด การออกกำลังเช่นนี้จะทำให้ขากรรไกรและฟันแข็งแรง
เวลากินนมจากอกแม่ ทารกสามารถควบคุมการไหลของน้ำนมได้เอง ถ้าเขาดูด น้ำนมก็ไหล ถ้าหยุดดูด น้ำนมก็หยุดไหล ถ้ากินนมจากขวด ทารกจะต้องดูดนมตลอดเวลา ถ้าหยุดดูด ก็จะก็ต้องออกแรงต้านแรงดันจากจุกนมที่อยู่ในปากเขา
การให้นมลูกจะมีผลดีทางจิตใจต่อทารกด้วย เป็นการสร้างความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างแม่กับลูก ตอนแรกคลอดทารกมองเห็นได้แค่ 12-15 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างหน้าของแม่กับทารกที่กำลังดูดนมจากอกแม่ การศึกษาพบว่าทารกอายุ 1 สัปดาห์ชอบที่จะได้กลิ่นน้ำนมของแม่ตัวเอง ถ้านำผ้าที่เปียกน้ำนมไปวางข้างที่นอน ทารกมักจะหันหน้าไปทางนั้นเพื่อดมกลิ่นที่คุ้นเคย
นักจิตวิทยาเชื่อว่าทารกรู้สึกถึงความปลอดภัยจากความอบอุ่นจากอ้อมแขน และการสัมผัสของแม่ โดยเฉพาะเวลาที่ได้สัมผัสกันเนื้อแนบเนื้อในระหว่างให้นม แม่ที่ให้ลูกกินนมขวดสามารถเอาขวดนมใส่ปากลูกได้ โดยไม่ต้องมีการสัมผัสกัน แต่แม่ที่ให้ลูกกินนมจากอกแม่ ต้องโอบกอดและสัมผัสลูกอย่างใกล้ชิดบ่อย ๆ ทั้งวัน การให้ลูกกินนมจากอกแม่ จึงเป็นมากกว่าการให้อาหารทารก มันยังเป็นการใหความรักความอบอุ่นแก่ทารกอีกด้วย
ลูกมหาเศรษฐีที่กินนมผสม สุขภาพดีและแข็งแรงสู้ ลูกคนยากจนที่กินนมแม่ล้วน ๆ ไม่ได้
Wednesday, September 23, 2009
Thursday, September 17, 2009
ไม่ต้องอ่านฉลากก่อนซื้อก็รู้ว่าแตกต่าง
ทุกวันนี้บริษัทนมผสมโฆษณาโอ้อวดว่า นมผสมมีสารอาหารหลากหลายใกล้เคียงกับนมแม่ แต่ความจริงก็คือ ทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้ส่วนประกอบ “ทั้งหมด” ของนมแม่ และในบรรดาส่วนประกอบที่นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์ได้แล้ว นมแม่ก็ยังมีส่วนประกอบอยู่กว่า 100 ชนิด ที่นมผสมไม่มี
นอกจากนี้บริษัทนมผสมพยายามโฆษณาว่า ผลิตภัณฑ์ของตัวเองมีสารอาหารโน้นเท่านี้ มีแร่ธาตุนี้เท่านั้น แต่ไม่มีบริษัทไหนพูดเรื่อง Nutrient Bioavailability หรือปริมาณสารอาหารที่ทารกสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เลย
การเติมสารอาหารสังเคราะห์ต่าง ๆ มากมายลงในนมผสม ไม่ได้หมายความว่า ทารกจะสามารถดูดซึมสารเหล่านั้นไปใช้ได้ทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นการให้สารอาหารหรือแร่ธาตุที่มากเกินความต้องการ ยังอาจเป็นอันตรายด้วย
ทั้งนี้เป็นเพราะสารส่วนเกินจะต้องถูกกำจัดออกจากร่างกาย แต่เนื่องจากไตของทารกยังพัฒนาเต็มที่ จึงไม่สามารถกรองโปรตีนและแร่ธาตุที่มีมากเกินจำเป็นได้
นมวัวมีโปรตีนและแร่ธาตุที่มากเกินไปสำหรับลูกคน จึงต้องนำไปทำให้เจือจางมากพอจึงจะไม่เป็นอันตรายต่อทารก นอกจากนี้การให้สารอาหารและพลังงานที่มากเกินแก่ทารกเร็วเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพของทารก
การที่นมแม่มีสารอาหารบางชนิดจำนวนไม่มาก ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือความบกพร่องของนมแม่ แต่เป็นเพราะนมแม่มีปริมาณสารอาหารตรงตามความต้องการของทารก และเป็นสารธรรมชาติที่ดูดซึมได้ง่าย ทารกนำไปใช้ได้ทั้งหมด
น้ำนมแม่มีเอนไซม์สำหรับช่วยย่อย ซึ่งจำเป็นมากสำหรับทารกเนื่องจากทารกยังไม่สามารถผลิตเอนไซม์ได้ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ
ในโลกนี้มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงไม่กี่ชนิด ที่สามารถผลิตน้ำนมที่มีเอนไซม์ได้ นอกจากมนุษย์แล้ว สัตว์ที่มีความสามารถเช่นนี้ ได้แก่ ลิงกอริลลา สุนัข แมว พังพอน และแมวน้ำ น้ำนมวัวไม่มีเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับทารก
ในน้ำนมแม่ ยังมีโปรตีน แลคโตเฟอรินซึ่งจะจับตัวกับธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันไม่ให้ธาตุเหล็กถูกนำไปใช้มากเกินไป ธาตุเหล็กมีความสำคัญ แต่ถ้าทารกได้รับน้อยไปหรือมากไปก็จะเป็นอันตราย ธาตุเหล็กที่มากเกินไปจะกระตุ้นการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในลำไส้
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยแสดงว่า ถ้าทารกแรกคลอดที่มีปริมาณธาตุเหล็กสะสมในระดับที่เหมาะสม ได้รับนมผสมที่เสริมธาตุเหล็กจะมีพัฒนการทางสมองที่แย่ลง
ผู้หญิงทุกคนมีน้ำนมที่มีสัดส่วนของสารอาหาร แร่ธาตุ ภูมิต้านทาน และ growth factor พอ ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นแม่ในประเทศเจริญแล้วหรือแม่ในประเทศด้อยพัฒนา และแม้แต่คุณแม่ที่มีภาวะพร่องโภชนาการ คุณภาพของน้ำนมแม่ก็แทบจะไม่แตกต่างจากน้ำนมแม่ทั่ว ๆ ไปเลย
คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมตัวเอง จึงมั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับทั้งสารอาหาร แร่ธาตุ และภูมิต้านทานที่เหมาะสมจากนมแม่ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสนใจอ่านฉลากข้างกระป๋องเลย
นอกจากนี้บริษัทนมผสมพยายามโฆษณาว่า ผลิตภัณฑ์ของตัวเองมีสารอาหารโน้นเท่านี้ มีแร่ธาตุนี้เท่านั้น แต่ไม่มีบริษัทไหนพูดเรื่อง Nutrient Bioavailability หรือปริมาณสารอาหารที่ทารกสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เลย
การเติมสารอาหารสังเคราะห์ต่าง ๆ มากมายลงในนมผสม ไม่ได้หมายความว่า ทารกจะสามารถดูดซึมสารเหล่านั้นไปใช้ได้ทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นการให้สารอาหารหรือแร่ธาตุที่มากเกินความต้องการ ยังอาจเป็นอันตรายด้วย
ทั้งนี้เป็นเพราะสารส่วนเกินจะต้องถูกกำจัดออกจากร่างกาย แต่เนื่องจากไตของทารกยังพัฒนาเต็มที่ จึงไม่สามารถกรองโปรตีนและแร่ธาตุที่มีมากเกินจำเป็นได้
นมวัวมีโปรตีนและแร่ธาตุที่มากเกินไปสำหรับลูกคน จึงต้องนำไปทำให้เจือจางมากพอจึงจะไม่เป็นอันตรายต่อทารก นอกจากนี้การให้สารอาหารและพลังงานที่มากเกินแก่ทารกเร็วเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพของทารก
การที่นมแม่มีสารอาหารบางชนิดจำนวนไม่มาก ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือความบกพร่องของนมแม่ แต่เป็นเพราะนมแม่มีปริมาณสารอาหารตรงตามความต้องการของทารก และเป็นสารธรรมชาติที่ดูดซึมได้ง่าย ทารกนำไปใช้ได้ทั้งหมด
น้ำนมแม่มีเอนไซม์สำหรับช่วยย่อย ซึ่งจำเป็นมากสำหรับทารกเนื่องจากทารกยังไม่สามารถผลิตเอนไซม์ได้ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ
ในโลกนี้มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงไม่กี่ชนิด ที่สามารถผลิตน้ำนมที่มีเอนไซม์ได้ นอกจากมนุษย์แล้ว สัตว์ที่มีความสามารถเช่นนี้ ได้แก่ ลิงกอริลลา สุนัข แมว พังพอน และแมวน้ำ น้ำนมวัวไม่มีเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับทารก
ในน้ำนมแม่ ยังมีโปรตีน แลคโตเฟอรินซึ่งจะจับตัวกับธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันไม่ให้ธาตุเหล็กถูกนำไปใช้มากเกินไป ธาตุเหล็กมีความสำคัญ แต่ถ้าทารกได้รับน้อยไปหรือมากไปก็จะเป็นอันตราย ธาตุเหล็กที่มากเกินไปจะกระตุ้นการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในลำไส้
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยแสดงว่า ถ้าทารกแรกคลอดที่มีปริมาณธาตุเหล็กสะสมในระดับที่เหมาะสม ได้รับนมผสมที่เสริมธาตุเหล็กจะมีพัฒนการทางสมองที่แย่ลง
ผู้หญิงทุกคนมีน้ำนมที่มีสัดส่วนของสารอาหาร แร่ธาตุ ภูมิต้านทาน และ growth factor พอ ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นแม่ในประเทศเจริญแล้วหรือแม่ในประเทศด้อยพัฒนา และแม้แต่คุณแม่ที่มีภาวะพร่องโภชนาการ คุณภาพของน้ำนมแม่ก็แทบจะไม่แตกต่างจากน้ำนมแม่ทั่ว ๆ ไปเลย
คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมตัวเอง จึงมั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับทั้งสารอาหาร แร่ธาตุ และภูมิต้านทานที่เหมาะสมจากนมแม่ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสนใจอ่านฉลากข้างกระป๋องเลย
Saturday, August 8, 2009
นมแม่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก
การบอก "ข้อดีและประโยชน์" ของการให้ลูกกินนมแม่ คล้ายกับเป็นการยอมรับว่าการให้ลูกกินนมผงเป็นเรื่องธรรมดาและมีความปลอดภัย ส่วนการให้ลูกกินนมแม่เป็น "โบนัส" ที่ลูกจะได้เพิ่ม
ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น การให้ทารกกินนมผงไม่ปลอดภัย มีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกเจ็บป่วยและเสียชีวิต
ข้อเท็จจริงนี้ทำให้คนฟังรู้สึกไม่สบายใจ บางคนอาจรู้สึกไม่พอใจหรือเสียหน้า เพราะตัวเองไม่ได้กินนมแม่หรือลูกตัวเองไม่ได้กินนมแม่
แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจเลือกเองว่าจะให้ลูกกินนมแม่หรือไม่ พวกเธอตัดสินใจไปตามความคาดหวังของสังคม, สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมรอบ ๆ ตัวเธอ
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เรามักจะทำอะไร ๆ ตามอย่างคนอื่น ทั้งที่มันอาจจะไม่มีเหตุผล
แม่นับล้าน ๆ คนมีความพยายามที่จะให้ลูกกินนมแม่ แต่ทำไม่สำเร็จหรือต้องล้มเลิกกลางคัน เพราะสังคมทั่วไปขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ประกอบกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล และแผนการตลาดของนมผงที่ตอกย้ำความเข้าใจผิด ๆ ทำให้ การให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งเป็นวิธีปกติของการให้นมทารก ต้องถูกทำลายไป
แม่จำนวนมากมายให้ลูกกินนมผง ทั้งที่มันมีความเสี่ยงมหาศาลต่อสุขภาพของทารก เพราะการให้ทารกกินนมผงหรือการให้ทารกหย่านมแม่เร็วขึ้น กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมยุคปัจจุบัน
แม่จำนวนมากมายไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรกคลอด พวกเธอจึงไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้สำเร็จและนานพอ พวกเธอจึงคิดไปเองว่าร่างกายของเธอไม่สามารถผลิตน้ำนมได้
แม่บางคนเลิกให้ลูกกินนมแม่ภายในเวลาไม่กี่เดือน เพราะคิดว่ามันเป็นไม่เป็นอะไร เมื่อแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็ไม่มีใครให้คำแนะนำว่าจะรักษาปริมาณน้ำนมไว้ได้อย่างไร
สังคมทั่วไปกำลังตอกย้ำให้คนเชื่อว่า การไม่ให้ลูกกินนมแม่ เป็นเรื่องปกติ ภาพโฆษณาที่เห็นทางสื่อต่าง ๆ ทำให้เราเชื่อว่า นมผงดีไม่แพ้นมแม่
เมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจว่าจะให้ลูกกินนมแม่ หรือ นมผง แม่ทุกคนมีสิทธิ์อย่างสมบูรณ์แบบที่จะตัดสินใจเอง ว่าจะเลือกทางใด แม่ทุกคนไม่ควรจะถูกบังคับหรือกดดัน ว่าต้องให้ลูกกินนมแม่
แต่แม่ทุกคนก็ต้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับรู้เกี่ยวกับอันตรายและความเสี่ยงที่จะเกิดจากการให้ลูกกินนมผงด้วย
การเลือกระหว่างนมแม่กับนมผง ไม่ใช่ ทางเลือกที่เท่าเทียมกัน
ปัจจุบันนี้เราได้รับรู้คุณประโยชน์มากมายมหาศาลของนมแม่ ทั้งต่อตัวทารก ต่อตัวแม่ และต่อสังคมเศรษฐกิจ แต่เราไม่มีโอกาสได้รับรู้ความเสี่ยงและอันตรายของนมผง
สถาบันกุมารเวชศาตร์ของสหรัฐอเมริการะบุว่า "การให้ทารกกินนมผง ทำให้อัตราและความรุนแรงของการเป็นโรคทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพิ่มขึ้น"
แต่อุตสากรรมนมผงและอาหารสำหรับเด็กทำงานอย่างหนักที่จะปกปิดข้อเท็จจริงเหล่านี้ รวมทั้งบิดเบือนความจริง เพื่อทำให้คนเชื่อว่า นมผงมีความปลอดภัยและดีพอ ๆ กับนมแม่ หรือกระทั่งโกหกว่า นมผงดีกว่านมแม่
พ่อแม่จะยังเลือกที่จะซื้อนมผงให้ลูกกินหรือไม่ ถ้าหากบริษัทนมผงไม่เผยแพร่โฆษณาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ว่านมผงทำให้เด็กเติบโตแข็งแรงและมีพัฒนาการทางกายและสมองที่ดีล้ำเลิศ
พ่อแม่จะยังเลือกให้นมผงกับลูกหรือไม่ ถ้าหากแพทย์, พยาบาล, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและสื่อมวลชน นำเสนอข้อเท็จจริงอย่างสม่ำเสมอว่า การให้ทารกกินนมผงเพิ่มอัตราการเจ็บป่วยในเด็ก ถึงแม้นมผงที่ให้ทารกจะเป็นนมผงราคาแพงก็ตาม
ไม่ใช่แต่นมผงที่มีสารปนเปื้อนเมลามีนหรือสารอื่น ๆ เท่านั้นที่ทำให้ทารกเจ็บป่วย ทุกวันนี้โรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะในประเทศที่ร่ำรวยหรือยากจน ต้องรับรักษาทารกจำนวนมากมายที่เจ็บป่วยเพราะกินอาหารและของเหลวอย่างอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ แต่ไม่เคยต้องรับรักษาทารกที่ป่วยเพราะกินนมแม่ล้วน ๆ เลย
ในความเป็นจริง การเลือกระหว่าง นมแม่ กับ นมผง ไม่ใช่แค่การเลือกว่าจะให้นมอะไรกับทารก แต่เป็นการเลือกระหว่าง สุขภาพ กับ ความเจ็บป่วย และในบางกรณีอาจเป็นการเลือกระหว่าง ชีวิต กับ ความตาย ด้วยซ้ำ
นมแม่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะเราไม่สามารถจะนำอาหารอื่นใดมาเปรียบเทียบกับนมแม่ได้
ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น การให้ทารกกินนมผงไม่ปลอดภัย มีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกเจ็บป่วยและเสียชีวิต
ข้อเท็จจริงนี้ทำให้คนฟังรู้สึกไม่สบายใจ บางคนอาจรู้สึกไม่พอใจหรือเสียหน้า เพราะตัวเองไม่ได้กินนมแม่หรือลูกตัวเองไม่ได้กินนมแม่
แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจเลือกเองว่าจะให้ลูกกินนมแม่หรือไม่ พวกเธอตัดสินใจไปตามความคาดหวังของสังคม, สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมรอบ ๆ ตัวเธอ
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เรามักจะทำอะไร ๆ ตามอย่างคนอื่น ทั้งที่มันอาจจะไม่มีเหตุผล
แม่นับล้าน ๆ คนมีความพยายามที่จะให้ลูกกินนมแม่ แต่ทำไม่สำเร็จหรือต้องล้มเลิกกลางคัน เพราะสังคมทั่วไปขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ประกอบกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล และแผนการตลาดของนมผงที่ตอกย้ำความเข้าใจผิด ๆ ทำให้ การให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งเป็นวิธีปกติของการให้นมทารก ต้องถูกทำลายไป
แม่จำนวนมากมายให้ลูกกินนมผง ทั้งที่มันมีความเสี่ยงมหาศาลต่อสุขภาพของทารก เพราะการให้ทารกกินนมผงหรือการให้ทารกหย่านมแม่เร็วขึ้น กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมยุคปัจจุบัน
แม่จำนวนมากมายไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรกคลอด พวกเธอจึงไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้สำเร็จและนานพอ พวกเธอจึงคิดไปเองว่าร่างกายของเธอไม่สามารถผลิตน้ำนมได้
แม่บางคนเลิกให้ลูกกินนมแม่ภายในเวลาไม่กี่เดือน เพราะคิดว่ามันเป็นไม่เป็นอะไร เมื่อแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็ไม่มีใครให้คำแนะนำว่าจะรักษาปริมาณน้ำนมไว้ได้อย่างไร
สังคมทั่วไปกำลังตอกย้ำให้คนเชื่อว่า การไม่ให้ลูกกินนมแม่ เป็นเรื่องปกติ ภาพโฆษณาที่เห็นทางสื่อต่าง ๆ ทำให้เราเชื่อว่า นมผงดีไม่แพ้นมแม่
เมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจว่าจะให้ลูกกินนมแม่ หรือ นมผง แม่ทุกคนมีสิทธิ์อย่างสมบูรณ์แบบที่จะตัดสินใจเอง ว่าจะเลือกทางใด แม่ทุกคนไม่ควรจะถูกบังคับหรือกดดัน ว่าต้องให้ลูกกินนมแม่
แต่แม่ทุกคนก็ต้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับรู้เกี่ยวกับอันตรายและความเสี่ยงที่จะเกิดจากการให้ลูกกินนมผงด้วย
การเลือกระหว่างนมแม่กับนมผง ไม่ใช่ ทางเลือกที่เท่าเทียมกัน
ปัจจุบันนี้เราได้รับรู้คุณประโยชน์มากมายมหาศาลของนมแม่ ทั้งต่อตัวทารก ต่อตัวแม่ และต่อสังคมเศรษฐกิจ แต่เราไม่มีโอกาสได้รับรู้ความเสี่ยงและอันตรายของนมผง
สถาบันกุมารเวชศาตร์ของสหรัฐอเมริการะบุว่า "การให้ทารกกินนมผง ทำให้อัตราและความรุนแรงของการเป็นโรคทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพิ่มขึ้น"
แต่อุตสากรรมนมผงและอาหารสำหรับเด็กทำงานอย่างหนักที่จะปกปิดข้อเท็จจริงเหล่านี้ รวมทั้งบิดเบือนความจริง เพื่อทำให้คนเชื่อว่า นมผงมีความปลอดภัยและดีพอ ๆ กับนมแม่ หรือกระทั่งโกหกว่า นมผงดีกว่านมแม่
พ่อแม่จะยังเลือกที่จะซื้อนมผงให้ลูกกินหรือไม่ ถ้าหากบริษัทนมผงไม่เผยแพร่โฆษณาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ว่านมผงทำให้เด็กเติบโตแข็งแรงและมีพัฒนาการทางกายและสมองที่ดีล้ำเลิศ
พ่อแม่จะยังเลือกให้นมผงกับลูกหรือไม่ ถ้าหากแพทย์, พยาบาล, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและสื่อมวลชน นำเสนอข้อเท็จจริงอย่างสม่ำเสมอว่า การให้ทารกกินนมผงเพิ่มอัตราการเจ็บป่วยในเด็ก ถึงแม้นมผงที่ให้ทารกจะเป็นนมผงราคาแพงก็ตาม
ไม่ใช่แต่นมผงที่มีสารปนเปื้อนเมลามีนหรือสารอื่น ๆ เท่านั้นที่ทำให้ทารกเจ็บป่วย ทุกวันนี้โรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะในประเทศที่ร่ำรวยหรือยากจน ต้องรับรักษาทารกจำนวนมากมายที่เจ็บป่วยเพราะกินอาหารและของเหลวอย่างอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ แต่ไม่เคยต้องรับรักษาทารกที่ป่วยเพราะกินนมแม่ล้วน ๆ เลย
ในความเป็นจริง การเลือกระหว่าง นมแม่ กับ นมผง ไม่ใช่แค่การเลือกว่าจะให้นมอะไรกับทารก แต่เป็นการเลือกระหว่าง สุขภาพ กับ ความเจ็บป่วย และในบางกรณีอาจเป็นการเลือกระหว่าง ชีวิต กับ ความตาย ด้วยซ้ำ
นมแม่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะเราไม่สามารถจะนำอาหารอื่นใดมาเปรียบเทียบกับนมแม่ได้
Thursday, July 30, 2009
แม่กับลูกต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล
การแยกกับลูกออกจากกันในระหว่างพักฟื้นที่โรงพยาบาลกลายเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ในหลาย ๆ ประเทศ ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานว่าการแยกทารกแรกคลอดจากแม่จะมีผลในทางลบต่อร่างกายและอารมณ์ของทั้งลูกและแม่
ข้ออ้างที่ใช้เป็นเหตุผลคือเรื่องของความสะอาดและสุขอนามัย แต่ไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชิ้นใดเลยที่แสดงว่าอัตราการติดเชื้อในทารกที่ถูกแยกจากแม่จะน้อยกว่าทารกที่อยู่กับแม่ตลอดเวลา
หลักฐานที่มีอยู่กลับแสดงผลในทางกลับกัน คือทารกที่ถูกแยกจากแม่มีอัตราการติดเชื้อมากกว่า และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดจะลดลง ถ้าแม่ได้มีโอกาสอยู่กับลูกตลอดเวลาเพื่อให้นมลูกและดูแลลูก
ทารกที่อยู่กับแม่ผู้ซึ่งใช้ร่างกายตัวเองปกป้องทารกมาตลอดเวลาเก้าเดือนและพร้อมที่จะให้ภูมิคุ้มกันลูกด้วยน้ำนมแม่ ย่อมต้องปลอดภัยกว่าอยู่กับเจ้าหน้าที่และพยาบาลที่ทำได้แค่ป้อนนมผสมให้กับทารก
การผลิตน้ำนมแม่ เป็นไปตามกฏของอุปสงค์กับอุปทาน ยิ่งทารกดูดนมมาก ร่างกายแม่ก็ยิ่งผลิตนมออกมามาก
ทารกที่มีสุขภาพดีและกำลังหิวเป็นผู้ผลิตนมที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก เพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดน้ำนมในปริมาณที่ตัวเองต้องการได้โดยการดูดนมจากอกแม่
การระงับความหิวหรือกระหายของทารกด้วยอาหารหรือของเหลวอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ ทำให้การดูดนมแม่ยากลำบากขึ้น พวกเราที่เป็นผู้ใหญ่ไม่อยากฝืนกินอาหารเวลาที่เรารู้สึกอิ่ม ทารกก็รู้สึกเช่นเดียวกัน
ถ้าพยาบาลป้อนนมผสมหรือน้ำกลูโคสให้ทารก เขาก็จะไม่อยากจะดูดนมจากอกแม่ ทารกจะลดปริมาณการผลิตน้ำนมของแม่ไปโดยอัตโนมัติ เพราะท้องที่อิ่มส่งสัญญาณว่าให้กระตุ้นการสร้างน้ำนมน้อยลง ร่างกายของแม่รับสัญญาณว่าทารกไม่ได้ต้องการน้ำนมมาก ก็จะลดปริมาณการผลิตน้ำนมลง
ความอยากกินนมของทารกเชื่อมโยงโดยตรงกับสารอาหารและปริมาณน้ำนมที่เขาต้องการ ทารกสามารถเพิ่มหรือลดปริมาณน้ำนมและปรับสมดุลของสารอาหารในน้ำนมแม่ได้อย่างเหมาะสม ถ้าเขามีโอกาสได้ดูดนมแม่ตามความต้องการ แต่ถ้าทารกกับแม่แยกกันอยู่ เขาก็ไม่สามารถกระตุ้นน้ำนมแม่ได้
ทารกอาจจะส่งสัญญาณว่าต้องการกินนมโดยหันศีรษะ อ้าปากและแลบลิ้นออกมา หรือส่งเสียงเบา ๆ (ทารกสามารถ "พูด" ได้เร็วกว่าที่พวกเราคิด)
แต่ถ้าทารกถูกแยกไปอยู่ในห้องเด็กก็จะไม่มีใครสังเกตเห็นสัญญาณนี้ เขาจึงต้องร้องไห้เพื่อให้พยาบาลรับรู้ความต้องการ และกว่าที่พยาบาลจะพาลูกมากินนมแม่ ทารกอาจจะหิวหรือเหนื่อยเกินไป จนหมดแรงที่จะดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราทุกคนน่าจะเคยรู้สึกหิวมาก ๆ แต่ก็หงุดหงิดจนกินอะไรไม่ลง เรามักจะลืมไปว่าทารกก็เป็นคนเหมือนกัน เวลาเราไปร้านอาหาร ถ้าเราต้องตะโกนจนเสียงแหบกว่าพนักงานเสิร์ฟจะมารับออร์เดอร์ และถ้าเราต้องรอนานมากกว่าอาหารจะมา เราก็คงไม่พอใจ เวลาที่ทารกหิวแล้วไม่ได้รับการตอบสนองรวดเร็ว ก็เป็นเช่นเดียวกัน
มีงานวิจัยที่แสดงว่า แม่ที่ได้นอนกับลูกของตัวเองตอนกลางคืน จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกได้ดีกว่าแม่ที่นอนแยกกับลูก แม่กระทั่งในระหว่างหลับ แม่ก็ยังรับรู้จังหวะและตอบสนองการดูดนมของลูกได้ตลอดทั้งคืน แม่ส่วนใหญ่จะปรับท่านอนโดยอัตโนมัติ แขนอยู่เหนือหัวลูก ศีรษะและเข่างอเข้าหากัน เป็นท่าที่จะปกป้องลูกจากอันตราย
แม่ลูกที่ได้นอนด้วยกันจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จมากกว่าแม่ลูกที่นอนแยกกัน การให้ลูกได้ดูดนมตั้งแต่เนิ่น ๆ และดูดบ่อย ๆ ช่วยให้น้ำนมมาเร็วขึ้น ความใกล้ชิดทางกายระหว่างแม่กับลูก ทำให้ขบวนการนี้เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น
ข้ออ้างที่ใช้เป็นเหตุผลคือเรื่องของความสะอาดและสุขอนามัย แต่ไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชิ้นใดเลยที่แสดงว่าอัตราการติดเชื้อในทารกที่ถูกแยกจากแม่จะน้อยกว่าทารกที่อยู่กับแม่ตลอดเวลา
หลักฐานที่มีอยู่กลับแสดงผลในทางกลับกัน คือทารกที่ถูกแยกจากแม่มีอัตราการติดเชื้อมากกว่า และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดจะลดลง ถ้าแม่ได้มีโอกาสอยู่กับลูกตลอดเวลาเพื่อให้นมลูกและดูแลลูก
ทารกที่อยู่กับแม่ผู้ซึ่งใช้ร่างกายตัวเองปกป้องทารกมาตลอดเวลาเก้าเดือนและพร้อมที่จะให้ภูมิคุ้มกันลูกด้วยน้ำนมแม่ ย่อมต้องปลอดภัยกว่าอยู่กับเจ้าหน้าที่และพยาบาลที่ทำได้แค่ป้อนนมผสมให้กับทารก
การผลิตน้ำนมแม่ เป็นไปตามกฏของอุปสงค์กับอุปทาน ยิ่งทารกดูดนมมาก ร่างกายแม่ก็ยิ่งผลิตนมออกมามาก
ทารกที่มีสุขภาพดีและกำลังหิวเป็นผู้ผลิตนมที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก เพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดน้ำนมในปริมาณที่ตัวเองต้องการได้โดยการดูดนมจากอกแม่
การระงับความหิวหรือกระหายของทารกด้วยอาหารหรือของเหลวอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ ทำให้การดูดนมแม่ยากลำบากขึ้น พวกเราที่เป็นผู้ใหญ่ไม่อยากฝืนกินอาหารเวลาที่เรารู้สึกอิ่ม ทารกก็รู้สึกเช่นเดียวกัน
ถ้าพยาบาลป้อนนมผสมหรือน้ำกลูโคสให้ทารก เขาก็จะไม่อยากจะดูดนมจากอกแม่ ทารกจะลดปริมาณการผลิตน้ำนมของแม่ไปโดยอัตโนมัติ เพราะท้องที่อิ่มส่งสัญญาณว่าให้กระตุ้นการสร้างน้ำนมน้อยลง ร่างกายของแม่รับสัญญาณว่าทารกไม่ได้ต้องการน้ำนมมาก ก็จะลดปริมาณการผลิตน้ำนมลง
ความอยากกินนมของทารกเชื่อมโยงโดยตรงกับสารอาหารและปริมาณน้ำนมที่เขาต้องการ ทารกสามารถเพิ่มหรือลดปริมาณน้ำนมและปรับสมดุลของสารอาหารในน้ำนมแม่ได้อย่างเหมาะสม ถ้าเขามีโอกาสได้ดูดนมแม่ตามความต้องการ แต่ถ้าทารกกับแม่แยกกันอยู่ เขาก็ไม่สามารถกระตุ้นน้ำนมแม่ได้
ทารกอาจจะส่งสัญญาณว่าต้องการกินนมโดยหันศีรษะ อ้าปากและแลบลิ้นออกมา หรือส่งเสียงเบา ๆ (ทารกสามารถ "พูด" ได้เร็วกว่าที่พวกเราคิด)
แต่ถ้าทารกถูกแยกไปอยู่ในห้องเด็กก็จะไม่มีใครสังเกตเห็นสัญญาณนี้ เขาจึงต้องร้องไห้เพื่อให้พยาบาลรับรู้ความต้องการ และกว่าที่พยาบาลจะพาลูกมากินนมแม่ ทารกอาจจะหิวหรือเหนื่อยเกินไป จนหมดแรงที่จะดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราทุกคนน่าจะเคยรู้สึกหิวมาก ๆ แต่ก็หงุดหงิดจนกินอะไรไม่ลง เรามักจะลืมไปว่าทารกก็เป็นคนเหมือนกัน เวลาเราไปร้านอาหาร ถ้าเราต้องตะโกนจนเสียงแหบกว่าพนักงานเสิร์ฟจะมารับออร์เดอร์ และถ้าเราต้องรอนานมากกว่าอาหารจะมา เราก็คงไม่พอใจ เวลาที่ทารกหิวแล้วไม่ได้รับการตอบสนองรวดเร็ว ก็เป็นเช่นเดียวกัน
มีงานวิจัยที่แสดงว่า แม่ที่ได้นอนกับลูกของตัวเองตอนกลางคืน จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกได้ดีกว่าแม่ที่นอนแยกกับลูก แม่กระทั่งในระหว่างหลับ แม่ก็ยังรับรู้จังหวะและตอบสนองการดูดนมของลูกได้ตลอดทั้งคืน แม่ส่วนใหญ่จะปรับท่านอนโดยอัตโนมัติ แขนอยู่เหนือหัวลูก ศีรษะและเข่างอเข้าหากัน เป็นท่าที่จะปกป้องลูกจากอันตราย
แม่ลูกที่ได้นอนด้วยกันจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จมากกว่าแม่ลูกที่นอนแยกกัน การให้ลูกได้ดูดนมตั้งแต่เนิ่น ๆ และดูดบ่อย ๆ ช่วยให้น้ำนมมาเร็วขึ้น ความใกล้ชิดทางกายระหว่างแม่กับลูก ทำให้ขบวนการนี้เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น
Tuesday, July 28, 2009
เนื้อแนบเนื้อ skin-to-skin contact
การที่แม่และลูกได้สัมผัสกันแบบเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contact) ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนเกี่ยวกับการผลิตน้ำนมในตัวแม่ และกระตุ้นฮอร์โมนเกี่ยวกับการย่อยอาหารในตัวลูก
ทันที่ที่คลอดลูก แม่จะเอื้อมมือไปคว้าลูกทันทีตามสัญชาติญาณ เพื่อให้ลูกได้อยู่ใกล้ ๆ แต่ถ้าแม่เหนื่อยเกินไปหมอหรือพยาบาลอาจจะอุ้มลูกมาวางบนตัวแม่ ทารกมีสัญชาติญาณในการค้นหาเต้านมของแม่ตั้งแต่แรกเกิด โดยอาศัยการสัมผัส ดมกลิ่น และการมองเห็น
ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ลานนมของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะมีสีเข้มขึ้น นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ช่วยให้ทารกแรกคลอดหาหัวนมแม่เจอ และทำให้มนุษย์มีชีวิตรอด
เมื่อทารกหาหัวนมแม่เจอ เขาจะเปิดปากกว้างและเริ่มดูดนม ถ้าทารกไม่ได้ซึมเพราะยา การดูดนมซึ่งเป็นปฏิกริยาอัตโนมัตินี้ จะมีแรงมากที่สุดตอนทันทีหลังคลอด ทารกรู้ว่าต้องดีว่าต้องทำอะไรตามสัญชาติญาน
กิจวัตรของการจับทารกแรกคลอดอาบน้ำและห่อในผ้าอ้อมไม่ได้เกิดจากการศึกษาวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล แต่เกิดจากความเชื่อของคนบางกลุ่มที่กลายมาเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ เป็นความจริงที่ว่าทารกแรกคลอดต้องได้รับความอบอุ่น แต่ทารกจะได้รับความอบอุ่นมากที่สุดเมื่ออยู่ในอ้อมกอดแม่
ทารกที่อยู่ในที่นอนเด็กอาจจะไม่ได้รับความอบอุ่นมากพอถึงแม้จะถูกห่อด้วยผ้าอ้อมก็ตาม เป็นที่รู้กันดีแล้วว่า ร่างกายของแม่จะอุ่นขึ้นถ้าลูกรู้สึกหนาว และร่างกายของแม่จะเย็นลงถ้าลูกรู้สึกร้อน
การอาบน้ำให้ทารกแรกคลอดจะชำระล้างไขมันสีขาวที่เรียกว่า Vernix ออกไป Vernix เป็นฟิล์มไขมันที่จะเคลือบผิวหนังของทารก ช่วยให้เขาไม่รู้สึกหนาว และป้องกันการระคายเคืองจากการขูดขีด สถานพยาบาลที่มีความเข้าใจที่ถูกต้องจะไม่อาบน้ำให้ทารกทันทีหลังคลอด แต่จะแค่ซับตัวให้แห้ง และวางในอ้อมกอดแม่ทันที
ในบางกรณีทารกอาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันทีหลังคลอด แต่กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ไม่มีผลต่อชีวิตหรือสุขภาพของทารก เช่น การชั่งน้ำหนัก สามารถรอได้ ควรให้แม่กับทารกได้สัมผัสและดูดนมแม่ทันที
แพทย์และเจ้าหน้าที่ีที่มีความรู้ความชำนาญจะพยายามไม่รบกวนการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อของแม่และลูกหลังการคลอด และจะรอจนกว่าลูกได้ดูดนมแม่แล้ว จึงจะไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องทำ
พยาบาลทำคลอดที่เกษียณแล้วบอกว่า ไม่มีอะไรที่จะงดงามต่อการสัมผ้สเท่ากับผิวทารกแรกคลอด แม้แต่ผ้าไหมที่นุ่มนวลที่สุดก็ยังสู้ไม่ได้ การเอาทารกมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นต่อสุขภาพและชีวิตของทารก เป็นการแย่งเอาความปิติยินดีที่แม่ควรจะได้รับมาจากแม่
เมื่อแม่กับลูกไม่ได้สัมผัสกันเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่แรกคลอด เราก็ยังแย่งเอาโอกาสที่จะได้สัมผัสร่างกายและหน้าอกแม่ มาจากทารกอีกด้วย
Subscribe to:
Posts (Atom)
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความต่าง ๆ ในบล็อก nommae.blogspot.com โดย nitbert อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ nommae.blogspot.com.