31. Label ใต้เครื่องสามารถบอกได้ว่าเครื่องนั้นผ่านมาตรฐานเครื่องมือแพทย์หรือไม่ (และคาดว่าอีกไม่นาน เมื่อความรู้นี้กระจายทั่ว เราก็จะได้เห็น label ปลอมตามมา) ให้ดูข้อถัดไปเพื่อ cross check คุณภาพของเครื่องปั๊มนมแต่ละยี่ห้อ
32. เวลา search ข้อมูลเพื่อเลือกเครื่องปั๊มนม อย่าค้นแต่ข้อมูลภาษาไทย ลองพิมพ์ยี่ห้อที่สนใจ แล้วตามด้วย USA, UK, EU, Australia, etc. ดูว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเขาให้การยอมรับยี่ห้อเหล่านั้นหรือไม่
33. แรงดูดเฉลี่ยจากช่องปากของทารกคือ -145+-58 mmHg แรงดูดของเครื่องปั๊มนมตามข้อกำหนดของเครื่องมือแพทย์มาตรฐานยุโรปคือ 250 mmHg เครื่องปั๊มนมที่มีแรงดูดสูงกว่านี้ มีความเสี่ยงที่จะทำให้เต้านมบาดเจ็บ
34. เครื่องปั๊มแรงดูดมากไม่ได้ช่วยให้ปั๊มนมได้มาก แต่จะทำให้บาดเจ็บได้มาก
35. ท่อน้ำนมเป็นท่อบางๆ เหมือนเส้นเลือด การใช้แรงดูดที่มากเกินไป อาจทำลายท่อน้ำนมได้ ลองคิดถึงหลอดบางๆ ที่ถูกดูดจนแบนและดูดไม่ออก ท่อน้ำนมที่เจอแรงดูดแรงๆ ก็ลีบแบนในลักษณะเดียวกัน ทำให้น้ำนมผ่านออกมาไม่ได้
36. ที่มาของคำว่า “โหมดกระตุ้น” นั้นมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Stimulation Mode ซึ่งเกิดจากงานวิจัยของ University of Western Australia (UWA) ที่พบว่าพฤติกรรมการดูดของทารกนั้นเริ่มจากการดูดเร็วๆ แผ่วๆ ในช่วง 2-3 นาทีแรกเพื่อกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนม (let down reflex) หลังจากน้ำนมเริ่มไหล การดูดของทารกจะเปลี่ยนเป็นดูดและกลืน ทำให้จังหวะการดูดนั้นยาวขึ้นในช่วงหลัง
37. โหมดรีดเต้า เป็นศัพท์เทคนิคทางการตลาด (เวอร์ชั่นแรก) ที่ไม่สามารถรีดเต้าได้จริง แต่สร้างความบาดเจ็บให้กับเต้านมได้จริงๆ การทำงานของโหมดรีดเต้าคือ ใช้แรงดูดสูงๆ พร้อมกับจังหวะการดูดที่ยาวนานกว่าปกติ นั่นหมายความว่า หัวนมและเต้านมจะถูกดึงด้วยความรุนแรงค้างเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุของความบาดเจ็บ ไม่มีทารกคนใดดูดเต้าแม่ด้วยพฤติกรรมเช่นนั้น
38. โหมดสลายก้อน เป็นศัพท์เทคนิคทางการตลาด (เวอร์ชั่นสอง) ที่ไม่สามารถสลายก้อนได้จริงๆ เช่นกัน ก้อนในเต้านมเกิดจากไขมันในน้ำนมสะสมกันเป็นตะกอน เนื่องจากการระบายน้ำนมออกได้ไม่ดี ก้อนเหล่านี้สลายได้ด้วยการนวด บีบด้วยมือ จากผู้มีประสบการณ์ และ/หรือ ร่วมกับเครื่องปั๊มนมที่มีประสิทธิภาพและการดูดของลูก
39. สองมอเตอร์ เป็น Marketing Tactic ของโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นเครื่องปั๊มนมที่ดี หรือช่วยให้ปั๊มนมได้เยอะอย่างที่เข้าใจ ย้อนกลับไปดูข้อ 33 เรื่องแรงดูดช่องปากทารกอีกรอบ มอเตอร์เดียวก็ให้แรงดูดที่มากเกินพอแล้ว #ย้ำอีกครั้ง ยิ่งแรงดูดมาก ยิ่งสร้างความบาดเจ็บให้กับเต้านมได้มาก
40. ด้วยสถานการณ์ปกติ เต้านมเราตอบสนองกับแรงดูดและความสบายที่เหมือนกัน ถ้าแรงดูด x ทำให้เต้าซ้ายสบาย ก็จะทำให้เต้าขวาสบายเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องแยกมอเตอร์ การที่ข้างซ้ายและขวาให้แรงดูดที่ไม่เท่ากัน มีโอกาสผิดพลาดที่เราจะสวมกรวยปั๊มผิดข้าง กลายเป็นใช้แรงดูดมากกับข้างที่เจ็บ และจะยิ่งทำให้เจ็บมากขึ้น ถ้าเต้านมข้างนึงบาดเจ็บ ควรแก้ปัญหาด้วยการหยุดปั๊มข้างที่เจ็บเพื่อรักษา ไม่ใช่ปั๊มด้วยแรงดูดที่ต่างกันของ 2 มอเตอร์
No comments:
Post a Comment