41. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปั๊มนมได้มากอันดับหนึ่งไม่ใช่เครื่องปั๊มนม แต่คือ อารมณ์และความรู้สึก หากมีความรู้สึกสบายใจ สงบ ผ่อนคลาย จะช่วยให้ฮอร์โมน Oxytocin หลั่งได้ดี น้ำนมจะไหลดี หากมีความเครียด ความกังวลมากในขณะปั๊มนม ต่อให้ในเต้ามีน้ำนมมากแค่ไหน ก็ปั๊มออกได้ยาก
42. การเปลี่ยนกรวยปั๊มไม่ได้ทำให้น้ำนมเยอะขึ้นทันที แต่ขนาดของกรวยปั๊มที่เหมาะสม จะช่วยทำให้การปั๊มนมสบายขึ้น เมื่อรู้สึกสบาย จะทำให้จะช่วยให้ฮอร์โมน Oxytocin หลั่งได้ดี น้ำนมจะไหลดีตามมา ถ้าสาเหตุของนมน้อยจากการเริ่มต้นที่ไม่ถูกต้อง การเปลี่ยนกรวยปั๊มอย่างเดียวไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้
43. ซิลิโคนครอบกรวยปั๊มไม่ใช่ชิ้นส่วนที่จำเป็น อาจเป็นได้ทั้งประโยชน์และโทษ บางคนไม่ใช้ซิลิโคนดีกว่า แต่สำหรับบางคนที่มีเต้านม หัวนมลักษณะพิเศษ การใช้ซิลิโคนครอบกรวยปั๊มสามารถช่วยให้การปั๊มนมมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ โค้ชนมแม่ผู้รู้จริงจะช่วยให้คำแนะนำที่ดีได้
44. ไม่มีบทเรียนเรื่องการใช้เครื่องปั๊มนมในหลักสูตรสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรที่มีความรู้และสามารถให้คำแนะนำในการใช้เครื่องปั๊มนมที่ถูกต้องได้นั้นพอมี แต่หาไม่ได้ง่ายนัก แม้แต่ในคลินิกนมแม่เอง หากมีปัญหาในการใช้เครื่องปั๊มนม ให้เริ่มจากการสอบถามผู้ขายก่อน เพราะอย่างน้อยเขาก็ควรได้รับการอบรมจากผู้ผลิตโดยตรง
45. กรวยซิลิโคนหรือกรวยนิ่มเป็นการมโนของโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าบางแห่ง ที่คิดว่ากรวยนิ่มๆ นั้นนุ่มนวลกับเต้านม แต่ในความเป็นจริงแล้ว กรวยซิลิโคนกลับสร้างความบาดเจ็บได้มากยิ่งขึ้น เพราะความนิ่มของซิลิโคน ทำให้กรวยแนบติดกับเนื้อเต้านมเมื่อเจอแรงดูดที่แรงของเครื่อง จะดูดเอาเนื้อเต้านมเข้าไปเต็มที่ ทำให้บาดเจ็บรุนแรงกว่ากรวยปกติ
46. อาการบาดเจ็บจากการปั๊มนมส่วนใหญ่ เกิดจากระบบปฏิบัติการของเครื่องปั๊มนม คือ แรงดูด ดึง กระชากของเครื่องที่กระทำต่อเต้านมมากกว่าเกิดจากกรวยปั๊ม การเปลี่ยนกรวยปั๊มเพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่ช่วยแก้ปัญหา
47. เครื่องปั๊มนมแต่ละรุ่นมีเทคนิคและวิธีการใช้งานต่างกัน คุณแม่แต่ละคนก็มีข้อจำกัดของร่างกาย จิตใจ รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมภายในครอบครัวไม่เหมือนกัน ผู้มีประสบการณ์หรือโค้ชนมแม่ที่รู้จริงจะช่วยสอนและแก้ไขปัญหาให้คุณแม่แต่ละคนได้
48. เครื่องปั๊มนมแต่ละรุ่นได้รับการออกแบบมาเฉพาะ การใช้อุปกรณ์เช่น กรวยปั๊ม หรือแฮนด์ฟรีที่ไม่ได้เป็นของผู้ผลิตเองโดยตรง อาจทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องปั๊มนั้นลดลง และหากเกิดความเสียหาย มักไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขการรับประกัน
49. Power Pumping เป็นการเลียนแบบช่วงเวลา Growth Spurt ของทารกที่มีความต้องการน้ำนมเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ทำให้ดูดบ่อยขึ้น ทุก ½-1 ชม. แทนทุก 2-3 ชม. การปั๊มนมด้วยเทคนิค Power Pumping นั้น หากเป็นเครื่องปั๊มนมที่แรงดูดกระชากรุนแรง จะทำให้เต้านมบาดเจ็บมากขึ้น เพราะเต้านมถูกกระทำซ้ำๆ โดยไม่มีเวลาให้พัก หากไม่มีความเข้าใจในการทำ Power Pumping แทนที่นมจะเพิ่ม กลับจะทำให้นมลดแทน
50. ปั๊มนมได้เยอะแค่ไหนก็ให้ความสุขไม่ได้เท่ากับการกอดลูกเข้าเต้า อย่าตัดใจเร็วเกินไปที่จะเป็นคุณแม่ปั๊มล้วนตั้งแต่แรกคลอด
No comments:
Post a Comment