- ควรให้ลูกได้ดูดนมแม่ทันทีภายในหนึ่งชั่วโมงหลังคลอด
- ควรให้ลูกได้ดูดนมแม่ตามที่ลูกต้องการตลอดเวลา ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน (ไม่ถูกกำหนดด้วยเวลา)
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขวดนมหรือจุกหลอก
ลูกมหาเศรษฐีที่กินนมผสม สุขภาพดีและแข็งแรงสู้ ลูกคนยากจนที่กินนมแม่ล้วน ๆ ไม่ได้
Monday, April 29, 2013
10 Facts on Breastfeeding
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน โดยไม่ให้น้ำหรืออาหารอื่น หลังจากนั้นให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมจนถึงไปถึงสองปีหรือมากกว่า โดยมีคำแนะนำเพิ่มเติมดังนี้
Tuesday, April 23, 2013
ขนาดกระเพาะทารก
กระเพาะของทารก วันที่ 1-10
ภาพข้างล่างแสดงขนาดโดยเฉลี่ยของกระเพาะทารก และปริมาณน้ำนมที่สามารถรับได้หลังคลอด จากภาพนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมน้ำนมเหลืองหรือหัวน้ำนม ซึ่งมีปริมาณไม่มาก สามารถทำให้ทารกแรกคลอดอิ่มได้
ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยยังพบอีกว่าในวันที่ 1 กระเพาะเล็ก ๆ ของทารกไม่มีความยืดหยุ่นมากเท่ากับวันถัดมา
พยาบาลจำนวนมากมายได้เรียนรู้เรื่องนี้ด้วยวิธีที่ไม่ค่อยโสภาเท่าไร คือวันแรกที่พยาบาลป้อนนมขวดแค่หนึ่งหรือสองออนซ์ ทารกจะอาเจียรนมส่วนใหญ่ออกมา ผนังของกระเพาะทารกแรกคลอดยังมีกล้ามเนื้อที่กระชับแน่น จึงดันน้ำนมส่วนเกินออกมา แทนที่จะขยายออกเพื่อรองรับปริมาณน้ำนม
ในวันที่ 1 กระเพาะของทารกสามารถรับน้ำนมได้ประมาณ 1/6 ถึง 1/4 ออนซ์ (5-7 มล.) ต่อการกินนมหนึ่งครั้ง ซึ่งก็ไม่น่าประหลาดใจเลยว่า น้ำนมเหลืองในเต้านมของแม่ก็จะมีปริมาณเท่านี้เช่นกัน
เมื่อถึงวันที่ 3 ทารกได้กินนมปริมาณน้อย ๆ เป็นเวลาหลาย ๆ ครั้งแล้ว กระเพาะก็จะขยายขึ้นจนมีขนาดเท่ากับลูกปิงปอง
เมื่อถึงวันที่ 10 จะมีขนาดเท่า ๆ กับไข่ไก่ฟองใหญ่
มันเป็นความคิดที่ดีหรือไม่ที่จะให้ทารกแรกคลอดกินนมมากขึ้นในแต่ละครั้งที่กินนม เพื่อจะได้ทำให้กระเพาะขยายได้เร็วขึ้น?
คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะในกรณีนี้ไม่ใช่ว่ายิ่งมากยิ่งดี การให้ทารกกินนมจำนวนน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เป็นการสร้างนิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพให้กับทารกตั้งแต่แรกคลอด ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากบอกว่าเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพของผู้ใหญ่ที่จะกินอาหารจำนวนน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกันในทารก
การพยายามให้ทารกกินนมเพิ่มขึ้นอาจกลายเป็นการให้ทารกกินนมมากเกินไป ถ้าความรู้สึกว่าอิ่มมากเกินไปกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับทารก ก็อาจจะนำไปสู่นิสัยการกินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนในภายหลัง
By Nancy Mohrbacher, IBCLC
Co-author of Breastfeeding Made Simple and The Breastfeeding Answer Book
Co-author of Breastfeeding Made Simple and The Breastfeeding Answer Book
ตารางการให้นมแม่
คุณแม่จำนวนมากถูกบริษัทผู้ผลิตนมผสมล่อหลอกให้เข้าใจผิดว่าทารกจะต้องการกินนมปริมาณเท่านั้นเท่านี้ตั้งแต่แรกคลอดและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เมื่ออายุมากขึ้น
ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมากและทำให้แม่ไม่มั่นใจว่าตนเองจะผลิตน้ำนมให้ลูกได้พอ
ความเป็นจริงแล้ว กระเพาะทารกแรกคลอดมีขนาดเท่าลูกแก้วลูกเล็กๆ
เท่านั้นเอง เวลาที่แม่กังวลว่านมยังไม่มานั้น จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องกังวลเลย
เพราะทารกแรกคลอดต้องการน้ำนมเพียงไม่กี่หยดที่เราเห็นมันซึมๆ
ออกมาแค่นั้นก็เพียงพอแล้ว เมื่อดูดหรือปั๊มบ่อยๆ ปริมาณน้ำนมก็จะค่อยๆ
เพิ่มตามความต้องการของทารกได้อย่างสมดุล
น้ำนมแม่มีสารอาหารที่ทารกดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านมผสม
ดังนั้นปริมาณน้ำนมแม่ที่ทารกต้องการจึงไม่ได้มากอย่างที่คุณแม่หลายคนถูกข้อมูลข้างกล่องนมผสมล่อหลอก
จากงานวิจัยทำให้เราทราบว่าทารกอายุตั้งแต่
1-6 เดือน ที่กินนมแม่ล้วนๆ นั้น มีความต้องการน้ำนมเฉลี่ยวันละ 25 ออนซ์ (750
ml) ทารกแต่ละคนกินนมแม่ไม่เท่ากัน โดยมีปริมาณอยู่ระหว่าง 19-30
ออนซ์ ต่อวัน (570-900 ml) ทารกที่กินน้อยอาจกินแค่วันละ 19
ออนซ์ ส่วนทารกที่กินเก่งๆ ก็อาจกินได้มากถึงวันละ 30 ออนซ์
จากข้อมูลนี้สามารถช่วยให้เราคำนวณปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการในแต่ละมื้อสำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานได้
โดยการนำ 25 หารด้วยจำนวนมื้อที่ทารกกินนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกดูดนมแม่วันละ
8 ครั้ง ปริมาณน้ำนมต่อมื้อที่ควรจะเตรียมก็คือ 3 ออนซ์ (25/8 = 3.1)
คุณแม่ที่เริ่มปั๊มนมใหม่ๆ
มักจะบ่นว่าปั๊มได้น้อย เพราะชอบนำไปเทียบกับคนอื่น (ที่เขาปั๊มมานาน
เชี่ยวชาญและสามารถกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากกว่าความต้องการของลูกได้แล้ว)
ขอบอกว่าปริมาณที่ปั๊มได้ถ้าเริ่มต้นในช่วงเดือนแรก 1-2
ออนซ์ต่อสองข้างนั้นเป็นเรื่องปกติ ถ้าขยันและมีวินัยในการปั๊มทุกวัน
ปริมาณน้ำนมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน เห็นมาเยอะแล้วค่ะ ทีแรกก็บ่นว่าน้อย
ปั๊มไปปั๊มมา กลายเป็นบ่นไม่มีที่จะเก็บ
Saturday, April 6, 2013
ความจริงที่ถูกปกปิด
DHA เป็นกรดไขมันที่พบมากในสมองและเยื่อกระจกตา ทารกสามารถสร้าง DHA ได้เอง แต่อาจจะมีปริมาณไม่มากพอ น้ำนมแม่จึงมี DHA ธรรมชาติ
อยู่ในปริมาณมาก
ARA เป็นกรดไขมันที่เชื่อว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบประสาทส่วนกลาง
นมวัวหรือนมถั่วเหลืองไม่มี
DHA ตามธรรมชาติ บริษัทผู้ผลิตจึงต้องเติม DHA
สังเคราะห์ ลงในนมผสม
นักวิจัยพบว่าการเติม
DHA สังเคราะห์ ในนมผสม ทำให้ระดับ ARA ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในกล้ามเนื้อของทารกลดต่ำลงกว่าปกติ3
บริษัทนมผสมจึงแก้ไขความผิดพลาดนี้โดยการเติม
ARA สังเคราะห์ ในนมผสมที่เติม DHA สังเคราะห์ ด้วย
DHA และ ARA สังเคราะห์ที่ใช้เติมในนมผสม
ผลิตจากการหมักสาหร่ายในสารอาหารเหลว แล้วนำสาหร่ายแห้งไปบ่มกับสารละลายเฮ็กเซน* เพื่อสกัดน้ำมัน DHA
และ ARA สังเคราะห์ ออกมา
DHA และ ARA สังเคราะห์ มีโครงสร้างโมเลกุลต่างจาก DHA
และ ARA ตามธรรมชาติในนมแม่
ทารกบางคนที่ไม่สามารถย่อย DHA และ ARA สังเคราะห์ได้ จะเกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ
(FDA) ได้รับรายงาน 98 ฉบับ4
เกี่ยวกับทารกที่มีปฏิกริยาตอบสนองต่อ DHA และ
ARA สังเคราะห์ โดยมีอาการตั้งแต่การอาเจียนหรือท้องร่วงท้องเสีย
(ซึ่งอาการจะหายไปเมื่อหยุดให้นมผสมสูตรเติม DHA และ ARA
สังเคราะห์) จนถึงกรณีที่ต้องเข้าห้องไอซียูเพราะชักหรือขาดน้ำรุนแรง
ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันยา
(Institute of Medicine ) ของสหรัฐอเมริกาเชื่อว่ามีทารกจำนวนมากเจ็บป่วยเนื่องจากกินนมผสมสูตร
DHA และ ARA สังเคราะห์ แต่ไม่ได้ส่งรายงานให้
FDA เนื่องจากแพทย์, พยาบาล, และพ่อแม่ไม่ได้เชื่อมโยงอาการเจ็บป่วยของทารกกับการกินนมผสมสูตร DHA และ ARA
DHA 5-6 เท่า ดีจริงหรือ
DHA และ ARA ธรรมชาติในนมแม่จะมีการปรับปริมาณอัตโนมัติ
ในแต่ละช่วงเวลาอย่างเหมาะสม
เพื่อให้เข้าไปปรับสมดุลระบบภายในร่างกายของทารกได้อย่างทันท่วงที
และทำให้เซลล์สมอง และระบบการทำงานต่าง ๆ ของทารกพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่
จากงานวิจัยในปัจจุบัน
ยังไม่ทราบว่าปริมาณ DHA และ ARA สังเคราะห์ในนมผสมควรจะเป็นเท่าใด
และต้องมีสัดส่วนอย่างไร
ถ้า DHA และ ARA สังเคราะห์ที่เติมแต่งเข้าไป
มากเกินกว่าปริมาณที่ทารกสามารถดูดซึมได้ ส่วนที่เกินจะต้องถูกกำจัดออกทางไต
แต่ไตของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่จนกว่าจะอายุ 2 ปี
จึงไม่สามารถกำจัดสารสังเคราะห์ส่วนเกินได้ สารเหล่านี้อาจกลายเป็นสารตกค้างและเป็นพิษต่อร่างกาย
ผู้ผลิตนมผสมอวดอ้างว่า
DHA และ ARA สังเคราะห์ ที่เติมในนมผสมมีส่วนช่วยพัฒนาสมองและสายตา
แต่ผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือได้พบว่า
ทารกกินนมผสมที่เติม DHA และ ARA สังเคราะห์ ไม่ได้มีพัฒนาการดีกว่าทารกที่กินนมผสมสูตรธรรมดาเลย5
งานวิจัยบางส่วนที่สรุปว่านมผสมที่เติม
DHA และ ARA สังเคราะห์ ทำให้เด็กฉลาดกว่า
ล้วนแต่เป็นงานวิจัยที่สนับสนุนโดยผู้ผลิตนมผสมเอง นอกจากนี้ผู้ผลิตก็ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันความปลอดภัยสำหรับทารกในการบริโภค
DHA และ ARA สังเคราะห์
แต่บริษัทนมผสมก็ยังนำ DHA และ ARA สังเคราะห์
มาใช้ในนมผสม เพียงเพื่อให้ขายนมผสมได้มากขึ้นและตั้งราคาขายได้สูงขึ้น
เมื่อต้นเดือนธันวาคม
ค.ศ. 2009 ศาลกลางสหรัฐมีคำตัดสินว่าบริษัทผู้ผลิตนมผสมยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของโลก
มีความผิดฐานโฆษณาด้วยการให้ข้อมูลบิดเบือนจากความเป็นจริง 6
คำโฆษณาของผู้ผลิตนมผสมรายนี้อ้างว่า
นมผสมยี่ห้อของตนได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์ว่าช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองและสายตา
การใช้นมผสมอื่น ๆ อาจทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ด้อยกว่า
ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริง
และไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้
มาร์เท็ค ไบโอไซแอนซ์ คอร์ปอเรชั่น (Martek
Biosciences Corporation) ผู้ผลิตและจำหน่าย DHA และ ARA สังเคราะห์
ให้กับบริษัทผลิตนมผสมเกือบทุกบริษัท ยอมรับว่า จุดประสงค์ของสารเติมแต่งเหล่านี้
ไม่ใช่เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่มีสุขภาพของทารก
แต่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดและโฆษณา
ในเอกสารที่บริษัททำขึ้นเพื่อกระตุ้นการลงทุนจากนักลงทุน
มาร์เท็คระบุอย่างชัดเจนว่า
“ในปัจจุบันนมผสมสำหรับทารกกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์
ซึ่งสินค้าทุกยี่ห้อแทบจะเหมือนกันทุกประการ
ทุกบริษัทจึงต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือดในการสร้างความแตกต่างให้กับยี่ห้อของตน ถึงแม้ DHA
และ ARA สังเคราะห์ จะไม่มีประโยชน์ แต่เราเชื่อว่ามันก็ยังจะถูกนำไปเติมในนมผสมอย่างแพร่หลาย
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดและทำให้บริษัทเหล่านั้นสามารถโฆษณาได้
ว่านมผสมของบริษัทตัวเอง “ใกล้เคียงกับนมแม่มากที่สุด”
7
*
สารละลายเฮ็กเซนเป็นสาระละลายที่ใช้วงการอุตสาหกรรมทั่วไป มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อสมอง
จึงต้องถูกกำจัดออกจากน้ำมัน DHA สังเคราะห์
ด้วยขบวนการกลั่น, การกรอง, และการแยกชั้น
นมผสมสูตรต่อเนื่อง ระวังให้ดี
แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม ต้องเผชิญกับความเสี่ยงครั้งใหญ่ทุกครั้งที่ต้องเปลี่ยนสูตรนมผสมตามช่วงอายุ
คำแนะนำ (ซึ่งความจริงควรเป็น “คำเตือน” มากกว่า) ของนมผสมสูตรต่อเนื่อง คือ
ไม่ควรเปลี่ยนนมสูตรใหม่ทุกมื้อในทันที ให้ค่อย ๆ
เปลี่ยนนมผสมสูตรใหม่ทีละมื้อ เพื่อสังเกตอาการว่าทารกจะมีปัญหากับนมสูตรใหม่หรือไม่
เหตุใดอาหารที่ผู้ผลิตโฆษณาว่า ดีที่สุดเพื่อสุขภาพและความฉลาดของลูกน้อย
จึงต้องมีคำเตือนเช่นนี้
Monday, April 1, 2013
14. “เลือกหมอดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”
“เลือกหมอดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”
นั่นไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลย เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความอดทนและเสียสละของแม่ ที่จะต้องเผชิญกับการอดนอน ความเจ็บปวดจากหัวนมแตก ที่สำคัญคือ แม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองจำนวนไม่น้อยที่ท้อใจ เพราะไม่ได้กำลังใจหรือการสนับสนุนจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะการได้รับคำแนะนำที่ผิดจากหมอและพยาบาล
แม้ว่าหมอและพยาบาลทุกคนจะรู้ดีว่านมแม่ดีที่สุด แต่ก็มีน้อยคนมากที่จะรู้วิธีการช่วยเหลือให้แม่มือใหม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ นั่นไม่ใช่ความผิด แต่เป็นเพราะหมอและพยาบาลส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการเรียนปกติ แต่จะเรียนรู้ประสบการณ์ในการให้นมแม่จากประสบการณ์ตรงของตนเอง หรือจากเพื่อนร่วมงาน หรือคนไข้ มากกว่าที่จะได้เรียนรู้มาจากการฝึกอบรมตอนที่เรียนมา และกุมารแพทย์ในปัจจุบันได้รับแต่ข้อมูลความรู้จากผู้ผลิตนมผสมเป็นส่วนใหญ่ เมื่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่านมจะพอหรือเปล่า คุณหมอจึงมักแนะนำให้เพิ่มนมผสม ซึ่งก็แสดงว่าคุณหมอท่านนั้นไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เลย
ที่สำคัญ เคยมีงานวิจัยออกมาว่า การให้ตัวอย่างนมผสมฟรีและเอกสารโฆษณาเหล่านี้ มีผลกระทบให้อัตราและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง
ดังนั้น ถ้าคุณแม่มีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว การเตรียมพร้อมตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราการเลือกโรงพยาบาลและหมอที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างแท้จริง จะทำให้ความตั้งใจนั้นประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
และในทางกลับกัน กองหลังหรือคนใกล้ชิด รวมทั้งคุณหมอก็ต้องช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และให้ข้อมูลที่แท้จริงของความเสี่ยงจากการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม
นั่นไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลย เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความอดทนและเสียสละของแม่ ที่จะต้องเผชิญกับการอดนอน ความเจ็บปวดจากหัวนมแตก ที่สำคัญคือ แม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองจำนวนไม่น้อยที่ท้อใจ เพราะไม่ได้กำลังใจหรือการสนับสนุนจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะการได้รับคำแนะนำที่ผิดจากหมอและพยาบาล
แม้ว่าหมอและพยาบาลทุกคนจะรู้ดีว่านมแม่ดีที่สุด แต่ก็มีน้อยคนมากที่จะรู้วิธีการช่วยเหลือให้แม่มือใหม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ นั่นไม่ใช่ความผิด แต่เป็นเพราะหมอและพยาบาลส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการเรียนปกติ แต่จะเรียนรู้ประสบการณ์ในการให้นมแม่จากประสบการณ์ตรงของตนเอง หรือจากเพื่อนร่วมงาน หรือคนไข้ มากกว่าที่จะได้เรียนรู้มาจากการฝึกอบรมตอนที่เรียนมา และกุมารแพทย์ในปัจจุบันได้รับแต่ข้อมูลความรู้จากผู้ผลิตนมผสมเป็นส่วนใหญ่ เมื่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่านมจะพอหรือเปล่า คุณหมอจึงมักแนะนำให้เพิ่มนมผสม ซึ่งก็แสดงว่าคุณหมอท่านนั้นไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เลย
ที่สำคัญ เคยมีงานวิจัยออกมาว่า การให้ตัวอย่างนมผสมฟรีและเอกสารโฆษณาเหล่านี้ มีผลกระทบให้อัตราและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง
ดังนั้น ถ้าคุณแม่มีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว การเตรียมพร้อมตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราการเลือกโรงพยาบาลและหมอที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างแท้จริง จะทำให้ความตั้งใจนั้นประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
และในทางกลับกัน กองหลังหรือคนใกล้ชิด รวมทั้งคุณหมอก็ต้องช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และให้ข้อมูลที่แท้จริงของความเสี่ยงจากการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม
12. “นมแม่... ยังไงก็พอ”
“นมแม่... ยังไงก็พอ”
“ทำยังไงดีมีน้ำนมไม่พอ กลัวลูกไม่อิ่ม?”
“ทำไมให้นมแม่แล้วลูกตื่นบ่อย สงสัยนมจะมีไม่พอ?”
“ให้นมแม่แล้ว ลูกยังร้องงอแง แสดงว่าไม่อิ่มใช่มั้ย?”
“ปั๊มนมออกมาได้นิดเดียว จะพอให้ลูกกินหรือ”
ล้วนเป็นประโยคที่วนเวียนอยู่ภายในสมองของคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกหรือน่าตกใจ เพราะคุณแม่มือใหม่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสาเหตุสำคัญอีกอย่าง คือ การถูกสะกดจิตทางสมองด้วยข้อมูลแอบแฝงทางการตลาดของผู้ผลิตนมผสมว่า “นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก หากนมแม่ ไม่พอ ให้ใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก” หรือจากตารางการให้นมผสมที่บอกว่า “อายุ 0-2 สัปดาห์ ใช้นมผสม 3 ช้อนตวง น้ำสุก 3 ออนซ์ จำนวน 6-7 มื้อต่อวัน”
ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครรู้หรอกว่า นมเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ แต่ถ้าดูจากพฤติกรรมทางธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ในวัยทารกที่กินแต่นมแม่อย่างเดียว เช่น หมาหรือแมวที่เราเลี้ยง เมื่อคลอดลูกใหม่ๆ แม่จะกกอยู่กับลูกทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยมีใครไปนับว่าในแต่ละวันลูกๆ มันจะกินนมสักกี่ครั้ง และไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่านมแม่หมาหรือแม่แมวจะมีเพียงพอสำหรับลูกหรือเปล่า แล้วทำไมเราถึงต้องตั้งคำถามกับการเลี้ยงลูกคนด้วย?
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ปริมาณนมที่เราใช้เป็นเกณฑ์ในการเลี้ยงลูก มาจากคู่มือการเลี้ยงด้วยนมผสมเป็นหลัก ซึ่งเมื่อมองในเชิงการตลาด การเพิ่มปริมาณนมผสมและจำนวนครั้งให้มากขึ้นตามอายุลูก ก็ทำให้คุณต้องซื้อนมกระป๋องใหม่เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ไม่เคยมีหลักฐานใดๆ ที่สามารถยืนยันว่า ปริมาณเท่านี้หรือจำนวนครั้งเท่านั้น คือสิ่งที่ทารกต้องการจริงๆ เพราะแม้แต่ข้างกล่องนมผสมแต่ละยี่ห้อก็ยังกำหนดปริมาณไว้ไม่เท่ากันเลย
ตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงที่ว่า กระเพาะอาหารของทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวแค่ 2-3 กิโลกรัม มีขนาดเท่าลูกกอล์ฟเท่านั้น และบรรจุอะไรไม่ได้มาก ต้องค่อยๆ รับทีละน้อย หัดย่อย หัดดูดซึมง่ายๆ ไม่สามารถรับสิ่งแปลกปลอมนอกจากนมแม่ ซึ่งปริมาณนมแม่ที่ลูกดูดเข้าไปแรกๆ อาจจะมีเพียงไม่กี่หยด หรือไม่กี่ช้อนชา ลูกก็ต้องการเพียงปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยๆ เพื่อฝึกฝน เมื่อร่างกายทั้งแม่และลูกปรับตัวได้ ลูกก็จะดูดนมปริมาณมากขึ้น ในขณะที่แม่ก็จะผลิตน้ำนมมากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นปริมาณนมที่เพียงพอจะเป็นเท่าไหร่นั้น ธรรมชาติของทั้งแม่และลูกจะเป็นตัวบอกเอง และไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องให้นมผสมไปพร้อมกับนมแม่ เพียงเพราะกลัวว่าลูกจะกินนมไม่พอ
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับนมแม่
• ยิ่งลูกดูดนมมาก ก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามาก แต่ถ้าไม่ให้ลูกดูด น้ำนมก็จะไม่มีเพราะนมแม่จะมีการผลิตอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าด้วยการดูดของลูก การบีบด้วยมือ หรือบีบด้วยครื่องปั๊มนม
• จากการวิจัยพบว่า ปริมาณน้ำนมจะมีมากที่สุดในช่วงเช้า ซึ่งเป็นเวลาดีที่สุดสำหรับการปั๊มหรือการทำสต็อก ในขณะที่ปริมาณไขมันในน้ำนมจะมีมากขึ้นในช่วงหลังของวัน
• ขนาดเต้านมไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ไม่ใช่ปัญหาของการผลิตน้ำนม
• คุณแม่กว่า 97% สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ แม้จะมีหัวนมบอดหรือแบน
“ทำยังไงดีมีน้ำนมไม่พอ กลัวลูกไม่อิ่ม?”
“ทำไมให้นมแม่แล้วลูกตื่นบ่อย สงสัยนมจะมีไม่พอ?”
“ให้นมแม่แล้ว ลูกยังร้องงอแง แสดงว่าไม่อิ่มใช่มั้ย?”
“ปั๊มนมออกมาได้นิดเดียว จะพอให้ลูกกินหรือ”
ล้วนเป็นประโยคที่วนเวียนอยู่ภายในสมองของคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกหรือน่าตกใจ เพราะคุณแม่มือใหม่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสาเหตุสำคัญอีกอย่าง คือ การถูกสะกดจิตทางสมองด้วยข้อมูลแอบแฝงทางการตลาดของผู้ผลิตนมผสมว่า “นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก หากนมแม่ ไม่พอ ให้ใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก” หรือจากตารางการให้นมผสมที่บอกว่า “อายุ 0-2 สัปดาห์ ใช้นมผสม 3 ช้อนตวง น้ำสุก 3 ออนซ์ จำนวน 6-7 มื้อต่อวัน”
ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครรู้หรอกว่า นมเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ แต่ถ้าดูจากพฤติกรรมทางธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ในวัยทารกที่กินแต่นมแม่อย่างเดียว เช่น หมาหรือแมวที่เราเลี้ยง เมื่อคลอดลูกใหม่ๆ แม่จะกกอยู่กับลูกทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยมีใครไปนับว่าในแต่ละวันลูกๆ มันจะกินนมสักกี่ครั้ง และไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่านมแม่หมาหรือแม่แมวจะมีเพียงพอสำหรับลูกหรือเปล่า แล้วทำไมเราถึงต้องตั้งคำถามกับการเลี้ยงลูกคนด้วย?
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ปริมาณนมที่เราใช้เป็นเกณฑ์ในการเลี้ยงลูก มาจากคู่มือการเลี้ยงด้วยนมผสมเป็นหลัก ซึ่งเมื่อมองในเชิงการตลาด การเพิ่มปริมาณนมผสมและจำนวนครั้งให้มากขึ้นตามอายุลูก ก็ทำให้คุณต้องซื้อนมกระป๋องใหม่เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ไม่เคยมีหลักฐานใดๆ ที่สามารถยืนยันว่า ปริมาณเท่านี้หรือจำนวนครั้งเท่านั้น คือสิ่งที่ทารกต้องการจริงๆ เพราะแม้แต่ข้างกล่องนมผสมแต่ละยี่ห้อก็ยังกำหนดปริมาณไว้ไม่เท่ากันเลย
ตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงที่ว่า กระเพาะอาหารของทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวแค่ 2-3 กิโลกรัม มีขนาดเท่าลูกกอล์ฟเท่านั้น และบรรจุอะไรไม่ได้มาก ต้องค่อยๆ รับทีละน้อย หัดย่อย หัดดูดซึมง่ายๆ ไม่สามารถรับสิ่งแปลกปลอมนอกจากนมแม่ ซึ่งปริมาณนมแม่ที่ลูกดูดเข้าไปแรกๆ อาจจะมีเพียงไม่กี่หยด หรือไม่กี่ช้อนชา ลูกก็ต้องการเพียงปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยๆ เพื่อฝึกฝน เมื่อร่างกายทั้งแม่และลูกปรับตัวได้ ลูกก็จะดูดนมปริมาณมากขึ้น ในขณะที่แม่ก็จะผลิตน้ำนมมากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นปริมาณนมที่เพียงพอจะเป็นเท่าไหร่นั้น ธรรมชาติของทั้งแม่และลูกจะเป็นตัวบอกเอง และไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องให้นมผสมไปพร้อมกับนมแม่ เพียงเพราะกลัวว่าลูกจะกินนมไม่พอ
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับนมแม่
• ยิ่งลูกดูดนมมาก ก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามาก แต่ถ้าไม่ให้ลูกดูด น้ำนมก็จะไม่มีเพราะนมแม่จะมีการผลิตอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าด้วยการดูดของลูก การบีบด้วยมือ หรือบีบด้วยครื่องปั๊มนม
• จากการวิจัยพบว่า ปริมาณน้ำนมจะมีมากที่สุดในช่วงเช้า ซึ่งเป็นเวลาดีที่สุดสำหรับการปั๊มหรือการทำสต็อก ในขณะที่ปริมาณไขมันในน้ำนมจะมีมากขึ้นในช่วงหลังของวัน
• ขนาดเต้านมไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ไม่ใช่ปัญหาของการผลิตน้ำนม
• คุณแม่กว่า 97% สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ แม้จะมีหัวนมบอดหรือแบน
สูตรพิเศษ เฉพาะสำหรับลูกคุณ
น้ำนมของแม่แต่ละคนถูกผลิตขึ้นมาอย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกของตน
ถ้าลูกคลอดก่อนกำหนด น้ำนมที่ร่างกายแม่ผลิตออกมาก็จะเหมาะสมที่สุดกับลูกที่คลอดก่อนกำหนด
ภูมิคุ้มกันโรคในนมแม่ปรับเปลี่ยนไปตามเชื้อโรคที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมของแต่ละคน
ในขณะที่นมผสมแต่ละยี่ห้อนั้น
ผลิตขึ้นตามความต้องการของผู้ผลิต เหมือนกันหมดสำหรับทารกทุกคน ซึ่งที่จริงแล้วไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับทารกคนใดเลย
ความต้องการสารอาหารของทารกเปลี่ยนแปลงไปตามวัย
น้ำนมแม่ก็ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบและสัดส่วนไปตามความต้องการของทารกในแต่ละช่วงอายุโดยอัตโนมัติ
แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ต้องกังวลเลยว่า
เมื่อลูกโตขึ้นจะต้องเปลี่ยนสูตรนม หรือต้องเพิ่มสารอาหารอะไรให้ลูกอีก
นมแม่... สูตรลับที่ไม่มีใครรู้
ข้อมูลที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้เลยก็คือ
ข้อเท็จจริงที่ว่า “นมผงดัดแปลงสำหรับทารก” นั้น
มีองค์ประกอบที่ห่างไกลจากนมแม่มาก
นมผสมหรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารก
ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Formula”
ซึ่งแปลว่า “สูตร”
แต่ในความเป็นจริง ไม่มีผู้ผลิตนมผสมรายใดรู้ “สูตร” ที่แท้จริงของนมแม่
ยิ่งมีการคิดค้นมากขึ้นเท่าไหร่
ผู้ผลิตทั้งหลายก็ยิ่งต้องยอมรับว่า “เป็นไปไม่ได้เลยที่จะผลิตนมผสมให้เลียนแบบนมแม่ได้”
เพราะ “นมแม่” มีส่วนประกอบนับพันชนิด มีทั้งเซลล์มีชีวิตต่าง ๆ ฮอร์โมนหลายชนิด เอนไซม์ที่มีฤทธิ์ทำปฏิกิริยา อิมมูโนโกลบูลิน
(ภูมิคุ้มกันโรค) และสารประกอบที่มีโครงสร้างเฉพาะซึ่งไม่สามารถทำเลียนแบบในนมผสมสำหรับทารกได้
Subscribe to:
Posts (Atom)
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความต่าง ๆ ในบล็อก nommae.blogspot.com โดย nitbert อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ nommae.blogspot.com.