กระเพาะของทารก วันที่ 1-10
ภาพข้างล่างแสดงขนาดโดยเฉลี่ยของกระเพาะทารก และปริมาณน้ำนมที่สามารถรับได้หลังคลอด จากภาพนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมน้ำนมเหลืองหรือหัวน้ำนม ซึ่งมีปริมาณไม่มาก สามารถทำให้ทารกแรกคลอดอิ่มได้
ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยยังพบอีกว่าในวันที่ 1 กระเพาะเล็ก ๆ ของทารกไม่มีความยืดหยุ่นมากเท่ากับวันถัดมา
พยาบาลจำนวนมากมายได้เรียนรู้เรื่องนี้ด้วยวิธีที่ไม่ค่อยโสภาเท่าไร คือวันแรกที่พยาบาลป้อนนมขวดแค่หนึ่งหรือสองออนซ์ ทารกจะอาเจียรนมส่วนใหญ่ออกมา ผนังของกระเพาะทารกแรกคลอดยังมีกล้ามเนื้อที่กระชับแน่น จึงดันน้ำนมส่วนเกินออกมา แทนที่จะขยายออกเพื่อรองรับปริมาณน้ำนม
ในวันที่ 1 กระเพาะของทารกสามารถรับน้ำนมได้ประมาณ 1/6 ถึง 1/4 ออนซ์ (5-7 มล.) ต่อการกินนมหนึ่งครั้ง ซึ่งก็ไม่น่าประหลาดใจเลยว่า น้ำนมเหลืองในเต้านมของแม่ก็จะมีปริมาณเท่านี้เช่นกัน
เมื่อถึงวันที่ 3 ทารกได้กินนมปริมาณน้อย ๆ เป็นเวลาหลาย ๆ ครั้งแล้ว กระเพาะก็จะขยายขึ้นจนมีขนาดเท่ากับลูกปิงปอง
เมื่อถึงวันที่ 10 จะมีขนาดเท่า ๆ กับไข่ไก่ฟองใหญ่
มันเป็นความคิดที่ดีหรือไม่ที่จะให้ทารกแรกคลอดกินนมมากขึ้นในแต่ละครั้งที่กินนม เพื่อจะได้ทำให้กระเพาะขยายได้เร็วขึ้น?
คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะในกรณีนี้ไม่ใช่ว่ายิ่งมากยิ่งดี การให้ทารกกินนมจำนวนน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เป็นการสร้างนิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพให้กับทารกตั้งแต่แรกคลอด ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากบอกว่าเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพของผู้ใหญ่ที่จะกินอาหารจำนวนน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกันในทารก
การพยายามให้ทารกกินนมเพิ่มขึ้นอาจกลายเป็นการให้ทารกกินนมมากเกินไป ถ้าความรู้สึกว่าอิ่มมากเกินไปกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับทารก ก็อาจจะนำไปสู่นิสัยการกินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนในภายหลัง
By Nancy Mohrbacher, IBCLC
Co-author of Breastfeeding Made Simple and The Breastfeeding Answer Book
Co-author of Breastfeeding Made Simple and The Breastfeeding Answer Book
No comments:
Post a Comment